การออกเสียงพิเศษของบาลี : การออกเสียงพยัญชนะอัฒฑสระควบกล้ำของบาลี ของ ระบบการออกเสียงภาษาบาลี

การออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำของบาลี เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพยัญชนะอัฒสระและพยัญชนะอื่น ๆ บางเสียง เมื่อเป็นส่วนประกอบของเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ซึ่งหมายถึงพยัญชนะ 2 เสียงที่เรียงติดต่อกันโดยไม่มีเสียงสระคั่นกลาง ในพระไตรปิฎกบาลีอักษรสยามใช้เครื่องหมาย “ยามักการ คือ๎ ” (แสดงเสียงคู่หรือเสียงควบ) และในบางกรณ่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในพยางค์ที่นำหน้าในคำเดียวกันด้วย ซึ่งในฉบับอักษรสยามใช้เครื่องหมาย “ไม้หันอากาศ” (แสดงเสียงสระอะ เมื่อมีตัวสะกด) ในพยางค์ที่นำหน้าในคำเดียวกันเพื่อแสดงการพิมพ์พยัญชนะเสียงควบกล้ำที่ทำหน้าที่เป็นเสียงสะกดพร้อมกันไปด้วย พยัญชนะควบกล้ำบาลีแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะควบกล้ำที่เกิดกลางคำระหว่างสระ เป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ

ในการเรียงพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรโรมัน ได้ดำเนินตามการสืบทอดเสียงบาลีในฉบับอักษรสยาม โดยได้พิมพ์สัททอักษรสากลบาลีเทียบไว้ด้วยเพื่อช่วยให้ผู้อ่านพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันได้ออกเสียงถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่สำคัญ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังกล่าวคือ

พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นคำ

พยัญชนะควบกล้ำบาลีซึ่งเกิดต้นคำเป็นพยัญชนะต้น อาจประกอบด้วยพยัญชนะอัฒสระหรือพยัญชนะเปิด ได้แก่ ย ร ว ล ฬ [ j ɻ v l̪ ɭ ] โดยพยัญชนะเหล่านี้ จะเกิดร่วมกับพยัญชนะเสียงกัก เช่น ก ต ท ป พ [ k t̪ d p b ] เป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ดังในตัวอย่างต่อไปนี้

ตารางแสดง พยัญชนะเสียงควบกล้ำต้นคำ

เสียงควบตัวอย่างคำบาลี
สยามไทยโรมันสากลอักษรสยามอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
พ๎ยพฺยby[bj]พ๎ยัค์ฆพฺยคฺฆbyaggha[bjaɡɡʱa]
พ๎รพฺรbr[]พ๎รูติพฺรูติbrūti[uːt̪i]
ท๎วทฺวdv[d̪ʋ]ท๎วารทฺวารdvāra[d̪ʋaːɻa]
ต๎วตฺวtv[t̪ʋ]ต๎วํตฺวํtvaṃ[t̪ʋ„]
ป๎ลปฺลpl[ p l ̪ ]ป๎ลวติปฺลวติplavati[ pl ̪ aʋati]
ก๎ลกฺลkl[ kl ̪ ]เก๎ลสมเลเกฺลสมเลklesamale[ kl ̪ eamal̪e]

พยัญชนะสะกดควบกล้ำ

พยัญชนะควบกล้ำบาลีที่เกิดกลางคำระหว่างสระจะออกเสียงเป็นพยัญชนะสะกดต่อเนื่องไป เป็นเสียงควบกล้ำ กล่าวคือนอกจากเป็นเสียงพยัญชนะสะกดของพยางค์แรกแล้วยังทำหน้าที่ร่วมเป็นเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำของพยางค์ถัดไปด้วย ซึ่งเรียกว่า “พยัญชนะสะกดควบกล้ำ” พยัญชนะสะกดควบกล้ำประเภทนี้ อาจประกอบด้วยพยัญชนะอวรรค ทั้ง 7 เสียง ซึ่งรวมพยัญชนะอัฒสระหรือพยัญชนะเปิด คือ ย ร ว ล ฬ [ j ɻ v l̪ ɭ ] และพยัญชนะเสียงเสียดแทรก ส ห [ s̪ ɦ ]

เมื่อพยัญชนะควบกล้ำบาลีเกิดในตำแหน่งระหว่างสระ ส่วนที่เริ่มออกเสียงเป็นพยัญชนะควบกล้ำจะทำหน้าที่เป็นเสียงสะกดท้ายพยางค์แรกด้วย ดังนั้น เสียงนี้จึงทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นเสียงสะกดของพยางค์แรกและต่อเนื่องไปเป็นเสียงเริ่มต้นพยัญชนะควบกล้ำในพยางค์ถัดไป

ตารางแสดง พยัญชนะสะกดควบกล้ำ

เสียงควบตัวอย่างคำบาลี
สยามไทยโรมันสากลอักษรสยามอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
ล๎ยลฺยly[ l ̪j]กัล๎ยากลฺยาka‿lyā[kal ̪jaː]
พ๎รพฺรbr[]อิทมัพ๎รวีอิทมพฺรวีidama‿bra[id̪amaaʋiː]
ป๎ลปฺลpl[ pl ̪ ]อุป๎ลวอฺปฺลวu‿plava[ u pl ̪ aʋa]
ก๎ลกฺลkl[ kl ̪ ]จิต์ตัก๎เลเสหิจิตฺตเกฺลเสหิcitta‿klesehi[ cit̪t̪a kl ̪eːɦi]
ต๎วตฺวtv[t̪ʋ]กัต๎วากตฺวาka‿tvā[kat̪ʋaː]
ส๎มสฺมsm[s̪m]ตัส๎มาตสฺมาta‿smā[t̪as̪maː]

ตัวอย่างในภาพที่ 27 ไม่ใส่เครื่องหมายเชื่อมเสียง [‿] ในช่องสัททอักษรสากล ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่คุ้นเคยกับบาลีไม่ออกเสียงตัวสะกดของพยางค์แรก ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถออกเสียงได้ถูกต้องตามหน้าที่ทั้งสองของเสียงพยัญชนะที่เริ่มเสียงควบกล้ำ คือ เป็นเสียงสะกดข้างหลังอยู่ท้ายพยางค์แรก และต่อเนื่องไปเป็นเสียงที่เริ่มต้นพยัญชนะต้นควบกล้ำในพยางค์ถัดไป ตลอดจนเชื่อมกับเสียงควบกล้ำด้วย โดยการเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง

ตารางแสดง พยัญชนะสะกดควบกล้ำ พร้อมทั้งเสนอเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง

เสียงควบตัวอย่างคำบาลี
สยามไทยโรมันสากลอักษรสยามอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
ล๎ยลฺยly[ l ̪j]กัล๎ยลฺยka‿lyā[ka‿l ̪jaː]
พ๎รพฺรbr[]อิทมัพ๎รวีอิทมพฺรวีidama‿bra[id̪ama‿b'̪'ɻaʋiː]
ป๎ลปฺลpl[ pl ̪ ]อุป๎ลอฺปฺลu‿plava[ u‿pl ̪ aʋa]
ก๎ลกฺลkl[ kl ̪ ]จิต์ตัก๎เสหิจิตฺตเกฺลเสหิcitta‿klesehi[ cit̪t̪a‿kl ̪eːɦi]
ต๎วตฺวtv[t̪ʋ]กัต๎วตฺวka‿tvā[ka‿t̪ʋaː]
ส๎มสฺมsm[s̪m]ตัส๎มสฺมta‿smā[t̪a‿s̪maː]

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เมื่อ ห [ɦ] มาประกอบกับพยัญชนะสะกดควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะเปิดดังกล่าวข้างต้น และกับพยัญชนะนาสิก เช่น ณ ม [ ɲ ɳ m ]

ตารางแสดง ตัวอย่างเมื่อ ห มาประกอบเป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ

เสียงควบตัวอย่างคำบาลี
สยามไทยโรมันสากลอักษรสยามอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
ญฺหñh[ɲɦ]ปัหาปญฺหาpa‿ñhā[paɲɦaː]
ณ๎หณฺหṇh[ɳɦ]ตัณ๎หาตณฺหาta‿ṇhā[t̪aɳɦaː]
ม๎หมฺหmh[]ตุเม๎หตุเมฺหtu‿mhe[t̪ueː]
ย๎หยฺหyh[]มุย๎หเตมุยฺหเต'mu‿'yhate[muat̪eː]
ล๎หลฺหlh [l ̪ɦ] วุล๎หเตวุลฺหเตvu‿lhate[ʋul ̪ɦat̪eː]
ว๎หวฺหvh[ʋɦ]อว๎หิโตอวฺหิโตa‿vhito[aʋɦit̪oː]
ฬ๎หฬฺหḷh[ɭɦ]รูฬ๎หิรูฬฺหิrū‿ḷhi[ɻuːɭɦi]

ตัวอย่างในภาพที่ 29 ไม่ใส่เครื่องหมายเชื่อมเสียง [‿] ในช่องสัทอักษรสากล ส่วนในภาพที่ 30 ขอเสนอการเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง ซึ่งเริ่มจากเสียงสระซึ่งเป็นเสียงต่อเนื่องกับเสียงส่วนแรกของพยัญชนะควบกล้ำในพยางค์ถัดไป ทำนองเดียวกับในภาพที่ 28 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตารางแสดง ตัวอย่างเมื่อ ห มาประกอบเป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ พร้อมทั้งเสนอเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง

เสียงควบตัวอย่างคำบาลี
สยามไทยโรมันสากลอักษรสยามอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
ญฺหñh[ɲɦ]ปัญฺหpa‿ñhā[pa‿ɲɦaː]
ณ๎หณฺหṇh[ɳɦ]ตัณ๎หณฺหta‿ṇhā[t̪a‿ɳɦaː]
ม๎หมฺหmh[]ตุเม๎หตุเมฺหtu‿mhe[t̪u‿eː]
ย๎หยฺหyh[]มุย๎หเตมุยฺหเต'mu‿'yhate[mu‿at̪eː]
ล๎หลฺหlh [l ̪ɦ] วุล๎หเตวุลฺหเตvu‿lhate[ʋu‿at̪eː]
ว๎หวฺหvh[ʋɦ]ว๎หิโตวฺหิโตa‿vhito[a‿ʋɦit̪oː]
ฬ๎หฬฺหḷh[ɭɦ]รูฬ๎หรูฬฺหrū‿ḷhi[ɻu‿ːɭɦi]

ใกล้เคียง

ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน ระบบการเห็น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบการลงคะแนน ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ระบบกึ่งประธานาธิบดี ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม ระบบการลงคะแนนแบบผสม ระบบการออกเสียงภาษาบาลี